การคำนวณขนาดพัดลมระบายความร้อน ของหม้อแปลง Dry Type Cast Resin

ความร้อนที่เกิดจากการสูญเสีย (Losses) ภายในหม้อแปลง ขณะที่ใช้งาน จะต้องถูกระบายออก เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิของตัวหม้อแปลงให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้อายุของหม้อแปลงสั้นลงเร็วเกินไป การระบายความร้อนนี้เกิดขึ้นได้ 3 ทาง คือ

  1. การระบายความร้อนโดยการหมุนเวียนของอากาศตามธรรมชาติ (AN, Air Natural)
  2. การระบายความร้อนโดยใช้พัดลมช่วยเร่งการหมุนเวียนของอากาศ (AF, Air Forced)
  3. การระบายความร้อนผ่านทางผนังของตู้หม้อแปลง

สำหรับหม้อแปลงที่ติดตั้งไว้ภายในตู้หม้อแปลง ปริมาณความร้อนที่ถูกระบายออกโดยการหมุนเวียนของอากาศตามธรรมชาติ และโดยผ่านทางผนังของตู้หม้อแปลง จะมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณความร้อนที่ระบายโดยใช้พัดลมเร่งการหมุนเวียนของอากาศ ดังนั้นในการคำนวณ จึงคิดปริมาณความร้อนที่พัดลมต้องระบายออกจากตู้หม้อแปลง เท่ากับปริมาณความร้อนทั้งหมดที่เกิดขึ้น

โดยปกติหม้อแปลง Dry Type Cast Resin สามารถเพิ่มกำลังจ่ายได้อีก 40% ซึ่งการสูญเสียที่เกิดขึ้นจะคำนวณได้จาก

$$ P_v = P_o + 1.2 P_{k75} \left(\frac{S_{af}}{S_{an}}\right)^2 \quad \text{[kW]} \tag{1} $$

เมื่อ

\(P_o \) : No load loss

\(P_{k75} \) : Load loss ที่อุณหภูมิ 75 ºc

\(S_{an} \) : กำลังพิกัดของหม้อแปลงที่ระบายความร้อนด้วยอากาศตามธรรมชาติ [kVA]

\(S_{af} \) : กำลังพิกัดของหม้อแปลงที่ระบายความร้อนโดยใช้พัดลมช่วย [kVA]

พัดลมจะต้องขับอากาศไหลผ่านหม้อแปลงด้วยปริมาณมากพอที่จะนำพาเอาความร้อนจำนวนนี้ออกไปด้วย ตามสมการ

$$ Q_v = V_L . C_{PL} . \rho_L . \Delta\upsilon_L \quad \text{[kW]} \tag{2} $$

เมื่อ

\(Q_v \) : ปริมาณความร้อนที่จะระบายออก ในที่นี้จะเท่ากับการสูญเสียที่เกิดขึ้น, \(P_v\) [kW]

\(V_L \) : ปริมาณการไหลของอากาศ [\(m^3\)/s]

\(C_{PL} \) : ปริมาณความร้อนจำเพาะของอากาศ = 1.015 \(\frac{kw.s}{kg.K}\)

\(\rho_L \) : ความหนาแน่นของอากาศที่ 20 °C = 1.18 kg/\(m^3\)

\(\Delta\upsilon_L \) : อุณหภูมิเพิ่มของอากาศ ปกติคิดที่ 15 K


เขียนขึ้นสำหรับการอบรมพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง

เมื่อ 26 พย. 2534

 

 

Share this
0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments