ล่องเรือที่ Lake Como ประเทศอิตาลี่
เมื่อครั้งที่ไปเยือนอิตาลี่ (ปี 2018) เพื่อไปดูงานในเมืองมิลาน เรามีเวลาว่างวันอาทิตย์ 1 วันก่อนเริ่มทำงาน จึงวางแผนไปล่องเรือชม Lake Como หรือทะเลสาบโคโม่กัน
การล่องเรือชมทะเลสาบโคโม่ อาจจะเดินทางไปที่เมืองโคโม่ที่อยู่ใต้สุดของทะเลสาบ แล้วขึ้นเรือที่นั่น แต่การล่องเรือค่อนข้างใช้ระยะเวลานาน เพราะจุดสนใจน่าจะเป็นเมืองเบลลาจิโอ้ (Bellagio) ที่อยู่ออกไปเกือบสุดทะเลสาบด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และหากแวะลงเที่ยวตามเมืองชายฝั่งระหว่างทางด้วย อาจจะมีเวลาไม่พอที่จะไปถึงเมืองเบลลาจิโอ้ เพราะเที่ยวเรือก็มีมาไม่บ่อยนัก
เราจึงเปลี่ยนเป็นนั่งรถไฟจากมิลานไปที่เมืองวาเรนน่า (Varenna) แต่เช้าแทน ค่าตั๋วรถไฟ €6.7 มีเวลาแวะเที่ยวในเมืองวาเรนน่าเล็กน้อย แล้วซื้อตั๋วล่องเรือเที่ยวเดียวมาเมืองเบลลาจิโอ้ ราคาตั๋วตอนนั้น €4.6 ต่อคน ให้เวลาเดินเที่ยวในเมืองเบลลาจิโอ้มากหน่อยจนถึงเวลาอาหารกลางวัน เดินหาของกินกันในเมืองนี้เลย
หลังจากนั้นก็ซื้อตั๋วล่องเรือเที่ยวเดียวอีกเที่ยว ไปลงเมืองเลนโน่ (Lenno) ราคา €4.6 เหมือนกัน แวะเที่ยวในเมืองเลนโน่พักนึง แล้วนั่งรถเมล์สาย C10 เลาะขอบทะเลสาบฝั่งทิศเหนือ แทนการล่องเรือกลับมาเมืองโคโม่ ได้ยินมาว่า วิวข้างทางที่นั่งรถเมล์เส้นนี้ สวยกว่าวิวจากการล่องเรือมากนัก
เราตั้งใจจะลงรถเมล์กลางทางซักแห่งแล้วเดินชมวิวไปข้างหน้า ไปขึ้นรถเมล์ป้ายถัดไปหรือสองป้ายถัดไป แต่น่าเสียดาย วันนั้นเป็นวันที่ฟ้ามืดครึ้มตั้งแต่สายๆ ระหว่างรอรถเมล์เจอฝนบ้างเบาๆ แถมเป็นวันอาทิตย์ที่มีรถเมล์น้อย และสถานที่ขายตั๋วก็ไม่เปิด เราเดินเข้าร้านอาหารร้านนึงที่เปิดในวันนั้น ไปถามหาซื้อตั๋วรถเมล์ว่าซื้อได้จากที่ไหนบ้าง เจ้าของร้านบอกให้เราขึ้นรถเลย ไปซื้อตั๋วบนรถเอา รอรถอยู่นานกว่าจะมีรถเมล์มา เลยกำหนดในแผนของเราไปพอสมควร ก็เลยต้องนั่งรถมาจนถึงเมืองโคโม่ ไม่ได้แวะลงกลางทางตามที่ตั้งใจ
เมื่อกลับมาถึงเมืองโคโม่ เราลงรถเมล์ที่สถานีรถไฟ Como San Giovanni เลย ยังมีเวลาเหลือบ้างเล็กน้อย ก็ซื้อตั๋วรถไฟกลับมาเมืองมิลานที่สถานี Milano Centrale ค่าตั๋ว €4.8 แล้วต่อรถไฟใต้ดินสาย M2 กลับโรงแรมที่พัก
นินทาหลาน เมื่อหลานยังเด็ก — เจ๊พลอยเซ็ง
การเริ่มต้น
เริ่มเข้าหน้าฝนแล้ว ความชุ่มฉ่ำเริ่มมาเยือน พืชพรรณไม้หลากหลายชนิดที่ยังเป็นเมล็ดก็เริ่มจะเติบโตงอกงาม โผล่พ้นผิวดินที่กลบมันไว้ในฤดูที่ผ่านมา เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตน้อยๆเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์มันต่อไป
คนเราเองเกิดมาแล้ว ผ่านพ้นจุดเริ่มต้นชีวิตมาแล้ว แต่ก็ยังมีจุดเริ่มต้นอีกหลายหนหลายที เริ่มหัดเดิน เริ่มเข้าโรงเรียน เริ่มคบเพื่อนใหม่ เริ่ม(หัด)เป็นผู้ใหญ่ เริ่มทำงาน เริ่มก่อร่างสร้างตัว เริ่มธุรกิจ เริ่มปล่อยวาง ฯลฯ
การเริ่มต้นนั้นยาก บางคนอาจยากไม่มาก ต้องรอความพร้อมระดับหนึ่งจึงเริ่มได้ เหมือนเมล็ดพันธุ์พืชที่ต้องรอความชุ่มชื้นจากฝน แต่สำหรับบางคนนั้นยากยิ่งนัก ต้องมีความพร้อมระดับยิ่งยวด คือยังไงก็ไม่พร้อมซักที สรุปก็ไม่เคยเริ่มอะไรได้ซักอย่าง แต่เมื่อเริ่มต้นแล้ว ก้าวเดินต่อไป พัฒนาสิ่งที่เริ่มให้เติบโต นั้นยากกว่า และถึงจุดสุดท้ายคือรักษาไว้ จะยากยิ่งกว่า
แต่ยังไงก็ตาม ทุกสิ่งล้วนอนิจจัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรคงอยู่เช่นเดิม ใครจะเริ่มอะไรก็จงเริ่มซะเถิด ก่อนที่จะถึงเวลาดับไปทั้งที่ยังไม่ได้เริ่ม ไม่ต้องรอให้พร้อมไปซะทุกอย่างค่อยเริ่ม เพราะคนทั้งหลายที่ได้เริ่มลงมือทำอะไรไปแล้ว คนเหล่านั้นไม่เคยพร้อม เขาไปหาความพร้อมเอาข้างหน้าเสมอ
เรื่องของสารให้ความหวาน
หลายคนคิดว่าอยากจะลดน้ำตาล เพื่อลดอ้วน ทางเลือกนึงก็คือ หันไปใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล แต่รู้มั๊ยว่า สารให้ความหวาน มีกี่ชนิด วันนี้เราจะมารู้จักกันว่ามันมีกี่ชนิดบ้าง
1. แอสปาเทม
ให้ความหวานประมาณ 200-300 เท่าของน้ำตาลทรายในปริมาณเดียวกัน และมีรสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทรายมากที่สุด จึงเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้
2. ไซลิทอล
เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล พบได้ในพืช ผัก ผลไม้หลายชนิด อาทิ สตรอเบอร์รี่ ต้นเบิร์ช
3. ซัยคาเมต
มีความหวานประมาณ 30 เท่าของน้ำตาลซูโครส ซึ่งปัจจุบันได้ห้ามใช้แล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) เนื่องจากพบว่าสามารถทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง
4. ซัคคาริน
เป็นสารเคมีที่ใช้กันแพร่หลายมีความหวานเป็น 300 – 400 เท่าของน้ำตาลซูโครส ถ้าหากรับประทานซัคคารินในขนาด 5 – 25 กรัมต่อวันเป็นเวลาหลาย ๆ วัน หรือรับประทานครั้งเดียว 100 กรัม จะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง ซึมและชักได้
5. สตีวิโอไซด์
มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ดูดความชื้นได้ดี มีความหวานประมาณ 280 – 300 เท่าของน้ำตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการให้พลังงานต่ำ ประมาณร้อยละ 0 – 3 แคลอรี จึงเหมาะที่จะใช้เป็นสารให้ความหวานกับอาหารสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ
นินทาหลาน เมื่อหลานยังเด็ก 1 — หนูตอบ เยส…
สมัยพลอยยังเด็กมาก อาตาล "สอบเป็นไงมั่งน้องพลอย" น้องพลอย "อาตาล รู้เปล่า หนูสอบได้ 19 คะแนนแน่ะ" อาตาล "คะแนนเต็ม 100 แหงเลย ใช่ไม๊ล่ะ " น้องพลอย "ไม่ใช่ซะหน่อย คะแนนเต็ม 20 หรอก แล้วรู้เปล่าทำไมหนูทำผิด" "จริงๆ หนูตอบถูกแหละ ข้อนั้นอ่ะ ตอบ เยส" อาตาล "อ้าว... แล้วทำไมผิดล่ะจ๊ะ" น้องพลอย "คือ ตอบเยส แต่ หนูเขียนเป็น YEN" อาตาล "ฮ่าๆๆๆๆ สมน้ำหน้า พลอยเอ๊ย....."
อาตาล สมัยยังสาวเยอะ
ที่ไปเที่ยวมาบ้าง นิดหน่อย….
สถานที่ท่องเที่ยว สวยๆ ที่มีโอกาสได้ไปเที่ยว และ ถ่ายรูปมาบ้าง
ตาล
My First Gallery
Bird of Paradise
ปักษาสวรรค์ หรือ เบิร์ดออฟพาราไดส์ เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่ง ชื่อภาษาอังกฤษคือ Crane flower หรือ Bird of Paradise (อย่าสับสนกับนกชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Bird of Paradise เหมือนกัน)
ปักษาสวรรค์ เป็นพืชอยู่ในวงศ์กล้วยพัด (Strelitziaceae) มีดอกที่สวยงาม รูปร่างคล้ายนกกำลังบิน ดอกมีสีสันสดใส จึงมักถูกใช้เป็นสัญญลักษณ์ของสวรรค์
การคำนวณขนาดพัดลมระบายความร้อน ของหม้อแปลง Dry Type Cast Resin
ความร้อนที่เกิดจากการสูญเสีย (Losses) ภายในหม้อแปลง ขณะที่ใช้งาน จะต้องถูกระบายออก เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิของตัวหม้อแปลงให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้อายุของหม้อแปลงสั้นลงเร็วเกินไป การระบายความร้อนนี้เกิดขึ้นได้ 3 ทาง คือ
- การระบายความร้อนโดยการหมุนเวียนของอากาศตามธรรมชาติ (AN, Air Natural)
- การระบายความร้อนโดยใช้พัดลมช่วยเร่งการหมุนเวียนของอากาศ (AF, Air Forced)
- การระบายความร้อนผ่านทางผนังของตู้หม้อแปลง
สำหรับหม้อแปลงที่ติดตั้งไว้ภายในตู้หม้อแปลง ปริมาณความร้อนที่ถูกระบายออกโดยการหมุนเวียนของอากาศตามธรรมชาติ และโดยผ่านทางผนังของตู้หม้อแปลง จะมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณความร้อนที่ระบายโดยใช้พัดลมเร่งการหมุนเวียนของอากาศ ดังนั้นในการคำนวณ จึงคิดปริมาณความร้อนที่พัดลมต้องระบายออกจากตู้หม้อแปลง เท่ากับปริมาณความร้อนทั้งหมดที่เกิดขึ้น
โดยปกติหม้อแปลง Dry Type Cast Resin สามารถเพิ่มกำลังจ่ายได้อีก 40% ซึ่งการสูญเสียที่เกิดขึ้นจะคำนวณได้จาก
$$ P_v = P_o + 1.2 P_{k75} \left(\frac{S_{af}}{S_{an}}\right)^2 \quad \text{[kW]} \tag{1} $$
เมื่อ
\(P_o \) : No load loss
\(P_{k75} \) : Load loss ที่อุณหภูมิ 75 ºc
\(S_{an} \) : กำลังพิกัดของหม้อแปลงที่ระบายความร้อนด้วยอากาศตามธรรมชาติ [kVA]
\(S_{af} \) : กำลังพิกัดของหม้อแปลงที่ระบายความร้อนโดยใช้พัดลมช่วย [kVA]
พัดลมจะต้องขับอากาศไหลผ่านหม้อแปลงด้วยปริมาณมากพอที่จะนำพาเอาความร้อนจำนวนนี้ออกไปด้วย ตามสมการ
$$ Q_v = V_L . C_{PL} . \rho_L . \Delta\upsilon_L \quad \text{[kW]} \tag{2} $$
เมื่อ
\(Q_v \) : ปริมาณความร้อนที่จะระบายออก ในที่นี้จะเท่ากับการสูญเสียที่เกิดขึ้น, \(P_v\) [kW]
\(V_L \) : ปริมาณการไหลของอากาศ [\(m^3\)/s]
\(C_{PL} \) : ปริมาณความร้อนจำเพาะของอากาศ = 1.015 \(\frac{kw.s}{kg.K}\)
\(\rho_L \) : ความหนาแน่นของอากาศที่ 20 °C = 1.18 kg/\(m^3\)
\(\Delta\upsilon_L \) : อุณหภูมิเพิ่มของอากาศ ปกติคิดที่ 15 K
เขียนขึ้นสำหรับการอบรมพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง
เมื่อ 26 พย. 2534